วันนี้กลับไปย้อนเหตุการณ์โศกนาฏกรรมทางเครื่องบินที่เกิดขึ้นกับทีมฟุตบอล 2 เหตุการณ์ครับ
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด : มิวนิค 1958

แมนฯยูฯ เดินทางไปทำการแข่งขันรายการยูโรเปี้ยน คัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับ เร้ดสตาร์ เบลเกรด ในยูโกสลาเวีย (เดิม) ด้วยระยะการบินสมัยนั้นทำให้ต้องมีการแวะเติมน้ำมันระหว่างทาง การแข่งขันจบลงที่ผลเสมอ 3-3 และเมื่อรวมกับผลนัดแรกซึ่งเตะที่แมนเชสเตอร์ ทำให้แมนฯยูฯผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศด้วยประตูรวม 5-4 เมื่อแข่งเสร็จสิ้นแล้วก็เดินทางกลับอังกฤษ
เที่ยวบินขากลับก็มาแวะเติมน้ำมันที่สนามบินมิวนิคในเยอรมันตะวันตกเหมือนขาไป สภาพอากาศค่อนข้างเลวร้าย อากาศหนาวและมีหิมะ อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากอุปสรรคด้านสภาพอากาศแล้ว เครื่องยนต์ก็มีปัญหา กัปตันพยายามนำเครื่องขึ้นถึงสองครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนต้องทำการตรวจสอบ
มีคำเตือนจากวิศวกรว่าเครื่องยนต์มีปัญหา และแนะนำให้ยกเลิกเที่ยวบิน แต่ด้วยกลัวจะกระทบกับตารางเวลาทำให้กัปตันตัดสินใจลองนำเครื่องขึ้นอีกครั้ง
เครื่องบินลื่นไถลตกรันเวย์ขณะนำเครื่องขึ้น ผู้โดยสาร 23 รายเสียชีวิต จากผู้โดยสารทั้งหมด 38 คน ในนั้นมีนักเตะแมนฯยูฯ 7 ราย
ชาเปโคเอนเซ : โคลอมเบีย 2016

ชาเปโคเอนเซ ทีมฟุตบอลจากบราซิล เดินทางด้วยเครื่องบิน กำลังไปยังเมืองเมเดลลินประเทศโคลอมเบีย เพื่อเตะนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลรายการโคปา ซูดาเมริกานากับ อัตเลติโก นาซิอองนาล
ในระหว่างการเดินทางนักบินได้รับคำเตือนเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่อาจจะไม่เพียงพอสำหรับเดินทางถึงจุดหมาย จำเป็นต้องมีการแวะเติมน้ำมัน แต่นักบินตัดสินใจบินยาว
สุดท้ายเครื่องบินตกลงในหุบเขาในประเทศโคลอมเบีย จากการสืบสวนพบสาเหตุมาจากน้ำมันหมด
เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 71 คนจากทั้งหมด 77 คนบนเที่ยวบิน นักเตะทีมชาเปโคเอนเซรอดชีวิต 3 คนจากผู้รอดชีวิตทั้งหมด 6 คน
+++++++++++++++++++++++
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง…
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรแก่การรำลึกถึง แต่ คำเตือนก็ควรค่าแก่การรับฟังเช่นกัน
อ้างอิง
Munich Air Disaster 1958 : โศกนาฏกรรมแห่งมิวนิค
1 ปีโศกนาฏกรรม ‘ชาเปโคเอนเซ’ และปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น