สร้างสรรค์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

photo-1514580426463-fd77dc4d0672.jpg

98%* ของคนบอกว่าการเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์นั้นสำคัญกับงาน 

แต่มีเพียง 45%* ที่มองว่าตัวเองเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์

และมีแค่ 2%* เท่านั้นที่คิดว่าบริษัทของตัวเองพัฒนาให้คนทำงานมีความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่!

*ตัวเลขจากกว่า 2,000 สัมมนาในกว่า 60 ประเทศ

เรากำลังอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง

เราไม่คิดว่าตัวเองสร้างสรรค์ ไม่ได้รับการสร้างให้สร้างสรรค์ และไม่มีไอเดีย

ไอเดีย คือ การที่คนหนึ่งนำสองสิ่งมารวมกันด้วยวิธีใหม่ – Fredrik Haren

Creativity and Leadership

ในเมื่อทุกคนเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญ และส่วนใหญ่มองว่าตัวเองขาดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นบทบาทสำคัญที่ผู้นำจะต้องผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในหมู่คนทำงาน

บ่อยครั้งที่เราทำในสิ่งเดิมๆตามวิธีเดิมๆเพราะว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วหรือเป็นสิ่งที่เราทำมันเสมอมา

What is an idea?

อันที่จริงความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียเกิดขึ้นจากการนำสองสิ่งที่มีอยู่แล้วมารวมกัน

เฟรดดริก ฮาเร็นเป็นผู้เขียนหนังสือ “The Idea Book” ซึ่งขายได้มากกว่า 200,000 เล่ม และได้รับการจัดอันดับอยู่ใน 100 Best Business Books of All Time ซึ่งจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้ มาจากการรวมกันระหว่าง หนังสือ กับ สมุด โดยหนังสือจะประกอบด้วยเนื้อหา 150 หน้าและกระดาษเปล่าอีก 150 หน้าสำหรับไอเดียของผู้อ่าน

เฟรดดริกเปิดเผยไอเดียเบื้องหลังหนังสือเล่มนี้ว่าในแต่ละบริษัทจะมีงบประมาณสำหรับหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจให้กับผู้นำองค์กรเฉลี่ยปีละ 1 เล่มต่อคน ในขณะที่งบประมาณสำหรับวัสดุสำนักงาน-เครื่องเขียนนั้นเยอะกว่ามาก และหนังสือของเขาก็มีสมุดเป็นส่วนประกอบ

Idea-Perception

เมื่อเรานำความรู้มารวมกับข้อมูลที่เรามี ก็เกิดเป็นไอเดีย

Idea = P(k+i) ;

Idea = Person (Knowledge + Information)

และเมื่อเรามีมุมมองแห่งการสร้างสรรค์ เราจะมองโลกต่างออกไป

Inspiring Creativity

ดังนั้นเราจึงต้องพยายามที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเรา นอกจากจะทำให้ตัวเราเองเท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกแล้ว ก็เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นด้วย

เฟรดดริกเล่าถึงพี่ชายของเขาที่ไปว่ายน้ำในสระของรีสอร์ทแห่งหนึ่ง สระว่ายน้ำนี้ครึ่งหนึ่งมีหลังคาปิด อีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่โล่ง และในส่วนที่ปิดนั้นน้ำจะเย็นกว่า

ปัญหาคือการว่ายน้ำตามความยาวของสระทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเมื่อต้องเข้าไปในส่วนน้ำเย็น

แต่เนื่องจากในสระน้ำนั้นไม่มีคนอื่นอยู่ พี่ชายของเขาจึงเกิดไอเดียและเริ่มต้นว่ายน้ำเป็นแนวทแยงมุม แต่ทแยงในพื้นที่แค่ครึ่งเดียวของสระ

ชายคนหนึ่งที่นั่งอยู่ริมสระรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ ลุกขึ้นมาบอกกับเขาว่า “คุณว่ายผิดทิศทาง” (ต้องว่ายตรงๆ) และแม้พี่ชายของเฟรดดริกพยายามอธิบายว่าการว่ายแบบทแยงนี้เป็นการแก้ปัญหาเรื่องน้ำเย็น และไม่ได้รบกวนคนอื่น (เพราะไม่มีใครในสระ) ชายคนนั้นก็ยังไม่ค่อยพอใจและบอกว่า “คุณรบกวนผม”

คำถามคือ เราเป็นแบบ ‘พี่ชาย’ หรือ ‘ชายริมสระ’

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เฟรดดริก ฮาเร็น (Fredrik Haren) ชาวสวีเดน เป็นนักเขียนและนักพูดระดับโลก เชี่ยวชาญด้านความคิดสร้างสรรค์ในธุรกิจ นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้เขียนหนังสือ “The Idea Book” ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

The Global Leadership Summit จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร Willow Creek Association เป็นสัมมนาที่ให้ความสำคัญกับการสร้างผู้นำ จัดขึ้นทุกปี และสำหรับในประเทศไทยมีคริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพเป็นเจ้าภาพ จัดเมื่อวันที่ 15-16 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา

Advertisement

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ : ดีกว่าจนโดดเด่น

photo-1494596163038-5c693c2382e8.jpg

วันนี้มีแนวคิดจากวิทยากรในสัมมนา The Global Leadership Summit 2019 ที่มีโอกาสได้ฟังมาเมื่อเร็วๆนี้ ขอมีโอกาสแบ่งปันกับทุกคนครับ

The Global Leadership Summit จัดตั้งขึ้นโดยองค์กร Willow Creek Association เป็นสัมมนาที่ให้ความสำคัญกับการสร้างผู้นำ จัดขึ้นทุกปี และสำหรับในประเทศไทยมีคริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพเป็นเจ้าภาพ จัดเมื่อวันที่ 15-16 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา

ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จและให้ความสนใจวิ่งมาหาเรา ไม่ว่าจะเป็นการขายหรือการมีอิทธิพลใดๆ เราต้องดีกว่าจนโดดเด่น

ดีกว่าจนโดดเด่น – Andy Stanley

ถ้าเราเป็นร้านส้มตำเพียงร้านเดียวในชุมชน เราอาจจะไม่ต้องอะไรดีมากมาย แต่เพราะมีเราคนเดียว เราจึงโดดเด่น กลับกัน ในแวดวงหรืออุตสาหกรรมที่เราอยู่ ถ้าเราทำได้ดีเหมือนคนอื่น ทำเหมือนๆกัน ทำในวิธีที่ทุกคนทำอยู่ แต่เพราะมีคู่แข่งเยอะ เราก็ไม่โดดเด่น

ดังนั้นเราจึงต้องดีกว่าจนโดดเด่น

ในการทำให้ดีกว่าจนโดดเด่นเราไม่ต้องทำสิ่งใหม่ แต่เอาที่มีอยู่มาทำให้ดีขึ้น หลายครั้งเกิดจากความพยายามแก้ปัญหา การตรวจสอบและหาวิธีแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด จนเป็นความสำเร็จใหม่ๆ

แล้วเราจะสร้างสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่าจนโดดเด่นได้อย่างไร?

ผู้นำที่ดีต้องสร้างวัฒนธรรมให้คนตระหนักถึงการดีกว่าจนโดดเด่น โดยต้องยอมรับและไม่ต่อต้านแม้สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราเป็นคนคิดขึ้นมา ประกอบแนวทางด้วย 4 ประการ

4 แนวทางในการสร้างวัฒนธรรม ดีกว่าจนโดดเด่น

1) เป็นนักเรียน ไม่ใช่นักวิจารณ์
ให้เราเลือกที่จะเรียนรู้มากกว่าวิจารณ์ เรามักจะต่อต้านในสิ่งที่เราไม่เข้าใจและควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเราต้องไม่วิจารณ์ในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ และเลือกที่จะเรียนรู้มากกว่า

2) เปิดตาเปิดใจให้กว้าง
ในการพัฒนาสิ่งใหม่ๆเราต้องเปิดตาเปิดใจเปิดหูฟังเสียงคนนอกบ้าง เพราะว่าคนนอกไม่ได้ถูกครอบด้วยสมมติฐานของเราที่คิดและทำซ้ำๆเดิม เราต้องฟังเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่ดี

3) แทนที่คำว่า “อย่างไร” ด้วยคำว่า “โอ้โห” (How to Wow!)
เราจะได้รับสิ่งใหม่ๆก็ต่อเมื่อเราโอ้โหกับไอเดียของคน อย่าลืมว่าแนวคิดที่น่าสนใจอาจไม่ใช่ความคิดที่มาจากเรา ดังนั้น Don’t be a closed-mind leader ฝึกพูดบ่อยๆกับคำว่า “โอ้โห…ดี เรามาลองทำดู”

4) ถามคำถามถึงความโดดเด่น
ประกอบด้วย นี่มันโดดเด่นหรือเปล่า? อะไรทำให้สิ่งนี้โดดเด่นและเราทำอะไรได้บ้าง? มันดีกว่าหรือเปล่า? และมันดีกว่าจริงหรือ?

เราต้องใส่ใจในพรมแดนของความไม่ใส่ใจ ให้เราหันหลังจากสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ไม่ใช่เพราะเราไม่เชื่อสิ่งนั้น แต่เพื่อเรียนรู้…

 

Andy Stanley เป็นผู้ก่อตั้งและศิษยาภิบาล (ผู้นำ) ของคริสตจักร Northpoint Ministries ในเมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา