Mayday

20180501_140106.jpg

Mayday วันแรกของเดือนพฤษฎาคมในหลายๆประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยของเรากำหนดให้เป็นวันหยุดในฐานะของ “วันแรงงาน” (“Labour Day”, “International Workers’ Day”) ก็ถือเป็นวันหยุดของลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ (แต่ราชการไม่หยุดนะครับ)

Mayday! Mayday! Mayday! (3ครั้ง) ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับวันแรงงาน แต่พ้องเสียงมาจากคำว่า m’aidez ในภาษาฝรั่งเศส (คือ ‘help me’) ซึ่งย่อมาจากวลีว่า venez m’aidez อีกที (คือ ‘come and help me’) ใช้เป็นคำส่งสัญญาณซึ่งทราบกันเป็นการสากลถึงสถานการณ์ฉุกเฉินและต้องการความช่วยเหลือโดยเฉพาะในการขนส่งทางเรือทางอากาศ

Mayday วันแรกของเดือนพฤษฎาคมนอกจากจะเป็นวันหยุดวันแรงงานและเป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือแล้ว (ซึ่งไม่เกี่ยวกัน) ยังเป็นสัญญาณว่าเราเดินทางเข้าสู่เดือนที่ 5 ของปีแล้ว ลองย้อนทบทวนดูว่าปีนี้เราตั้งใจจะทำอะไรและมีเป้าหมายอะไรไว้เมื่อต้นปี แล้วเราทำสำเร็จหรือยังหรือเราเดินหน้าไปได้ขนาดไหน วันขึ้นต้นเดือนใหม่นี้ผมตั้งใจเริ่มต้นอะไรใหม่ๆหลายอย่างเช่นกัน

สุขสันต์วันหยุดครับ…

Advertisement

1958 ถึง 2016

วันนี้กลับไปย้อนเหตุการณ์โศกนาฏกรรมทางเครื่องบินที่เกิดขึ้นกับทีมฟุตบอล 2 เหตุการณ์ครับ

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด : มิวนิค 1958

Munich-air-disaster-1958--007.jpg
ภาพข่าวเหตุการณ์ที่มิวนิค ปี 1958

แมนฯยูฯ เดินทางไปทำการแข่งขันรายการยูโรเปี้ยน คัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับ เร้ดสตาร์ เบลเกรด ในยูโกสลาเวีย (เดิม) ด้วยระยะการบินสมัยนั้นทำให้ต้องมีการแวะเติมน้ำมันระหว่างทาง การแข่งขันจบลงที่ผลเสมอ 3-3 และเมื่อรวมกับผลนัดแรกซึ่งเตะที่แมนเชสเตอร์ ทำให้แมนฯยูฯผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศด้วยประตูรวม 5-4 เมื่อแข่งเสร็จสิ้นแล้วก็เดินทางกลับอังกฤษ

เที่ยวบินขากลับก็มาแวะเติมน้ำมันที่สนามบินมิวนิคในเยอรมันตะวันตกเหมือนขาไป สภาพอากาศค่อนข้างเลวร้าย อากาศหนาวและมีหิมะ อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากอุปสรรคด้านสภาพอากาศแล้ว เครื่องยนต์ก็มีปัญหา กัปตันพยายามนำเครื่องขึ้นถึงสองครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนต้องทำการตรวจสอบ

มีคำเตือนจากวิศวกรว่าเครื่องยนต์มีปัญหา และแนะนำให้ยกเลิกเที่ยวบิน แต่ด้วยกลัวจะกระทบกับตารางเวลาทำให้กัปตันตัดสินใจลองนำเครื่องขึ้นอีกครั้ง

เครื่องบินลื่นไถลตกรันเวย์ขณะนำเครื่องขึ้น ผู้โดยสาร 23 รายเสียชีวิต จากผู้โดยสารทั้งหมด 38 คน ในนั้นมีนักเตะแมนฯยูฯ 7 ราย

ชาเปโคเอนเซ : โคลอมเบีย 2016

chapecoense.jpg
สามนักเตะชาเปโคเอนเซที่รอดชีวิต ในวันที่ทีมกลับมาลงเล่นนัดแรกหลังเครื่องบินตก

ชาเปโคเอนเซ ทีมฟุตบอลจากบราซิล เดินทางด้วยเครื่องบิน กำลังไปยังเมืองเมเดลลินประเทศโคลอมเบีย เพื่อเตะนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลรายการโคปา ซูดาเมริกานากับ อัตเลติโก นาซิอองนาล

ในระหว่างการเดินทางนักบินได้รับคำเตือนเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่อาจจะไม่เพียงพอสำหรับเดินทางถึงจุดหมาย จำเป็นต้องมีการแวะเติมน้ำมัน แต่นักบินตัดสินใจบินยาว

สุดท้ายเครื่องบินตกลงในหุบเขาในประเทศโคลอมเบีย จากการสืบสวนพบสาเหตุมาจากน้ำมันหมด

เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 71 คนจากทั้งหมด 77 คนบนเที่ยวบิน นักเตะทีมชาเปโคเอนเซรอดชีวิต 3 คนจากผู้รอดชีวิตทั้งหมด 6 คน

+++++++++++++++++++++++

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง…

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรแก่การรำลึกถึง แต่ คำเตือนก็ควรค่าแก่การรับฟังเช่นกัน

อ้างอิง

Munich Air Disaster 1958 : โศกนาฏกรรมแห่งมิวนิค

1 ปีโศกนาฏกรรม ‘ชาเปโคเอนเซ’ และปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น

สายล่อฟ้า

flash-1455285_1280.jpg

สายล่อฟ้า คำนาม – แท่งโลหะปลายแหลมใช้ติดบนหลังคาของอาคารสูง ๆ โดยโยงต่อกับพื้นดินด้วยลวดโลหะ เพื่อทำหน้าที่ถ่ายเทประจุไฟฟ้าจากเมฆลงสู่พื้นโลก เป็นการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

สถานที่หรืออาคารสูงต่างๆมีการติดตั้งสายล่อฟ้าเอาไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า หรือแม้กระทั่งเครื่องบินก็ยังมีการติดตั้งสายล่อฟ้าไว้ เผื่อเวลาฝ่าพายุฟ้าคะนองก็จะสามารถรับมือจากความรุนแรงของฟ้าผ่าได้
giphy.gif

อยู่บนเครื่องบินฟ้าผ่าก็ไม่กลัวเพราะมีสายล่อฟ้า (แล้วถ่ายเทประจุออกไป) – ภาพ giphy.com

++++++++++++++++++=

กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่ามีความรุนแรง จึงต้องมีสายล่อฟ้ามารับไว้แล้วถ่ายออก…

กระแสอารมณ์ของเราก็รุนแรงเช่นกัน อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า เสียใจ กังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง มีอะไรที่อัดอั้นข้างใน พร้อมจะระเบิดออกเหมือนฟ้าผ่า

เพื่อลดความรุนแรงของอารมณ์และความคิด เราจึงต้องมีสายล่อฟ้าเอาไว้ใกล้ตัว นั่นคือคนที่สามารถจะรับฟังสิ่งที่ค้างคาในใจของเราได้ คุยได้ แลกเปลี่ยน รับมือและให้คำแนะนำได้

เราจึงควรที่จะหาคนที่จะมาเป็นสายล่อฟ้าให้กับเรา อาจเป็นเพื่อน พี่น้อง ผู้บังคับบัญชา ผู้นำ ผู้ใหญ่หรือคนรัก ที่จะคอยรับฟังเราในเรื่องต่างได้ ในขณะเดียวกันเราก็อาจจะมีส่วนในการเป็นสายล่อฟ้าให้เขาเช่นกัน สิ่งที่สำคัญต้องเน้นย้ำคือ คนนั้นต้องฟังเราได้และมีวุฒิภาวะพอสมควร

…ไม่งั้นฟ้าผ่ากันพังหมดแน่

555555

smiley-1706237_1280.jpg

ถ้าบ้านเรา 5555 เวลาแชทกันที่อื่นเขามีพิมพ์อะไรยังไงบ้าง

  • ญี่ปุ่น wwww
  • เกาหลี kkkk หรือ kekekeke
  • สเปน jajajaja
  • กรีก xaxaxaxa
  • เดนมาร์ก haha, hihi, hoho
  • รัสเซีย xaxaxa, xexexe
  • บราซิล (โปรตุเกส) huehuehue หรือ rsrsrsrs
  • ฝรั่งเศส MDR

นอกจาก 5555 แล้วบ้านเรายังมี ฮ่าๆๆๆ เพราะเรามี ๆ หรือ 555+ แบบขี้เกียจพิมพ์ หรือแบบน่ารัก เช่น คริคริ อิอิ อุอุ 😀 55555-or-how-to-laugh-online-in-other-language

จะหนาวอีกกี่วัน?

frozen.jpg

ช่วงนี้ประเทศไทยสัมผัสกับความหนาว อุณหภูมิลดลงทั่วประเทศ ทำให้ทุกคนได้คึกคักกับบรรยากาศของหน้าหนาว สิ่งที่ทุกคนถามกันเมื่อพบกับวันที่อากาศหนาวก็คือ…

จะหนาวไปอีกนานไหม? หนาวไปอีกกี่วัน?

เป็นหน่วยงานที่โดนแซวเยอะมากๆสำหรับ กรมอุตุฯ ไม่ว่าจะพยากรณ์ว่าฝนตก อากาศหนาว พายุเข้า ฯลฯ ส่วนมากโดนแซวและมีคำถามเกิดขึ้นเช่นกันว่า…

แม่นจริงหรือเปล่า?

วันนี้เลยพามาดูว่า ทำไมพยากรณ์อากาศถึงแม่นยาก และมักจะผิดบ่อยๆ

  • การพยากรณ์อากาศต้องใช้ข้อมูลเยอะมากๆ ทุกวันนี้มีสถานีตรวจอากาศอยู่ทั่วโลกมากกว่า 11,000 แห่งที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ความเร็วลม-ทิศทางกระแสลม ฝนตก และอื่นๆ ยังไม่รวมถึงเครื่องบิน เรือเดินสมุทร บอลลูนตรวจอากาศที่ก็ช่วยกันทำงาน เพื่อส่งต่อข้อมูลมายังสถานีภาคพื้น
  • เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ยังต้องเอามาประมวลด้วย super computer ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การทำแผนที่อากาศ โดยการพยากรณ์ก็จะทำโดยการเทียบสภาพที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน กับรูปแบบเดียวกันที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
  • หลังจากได้ข้อมูลจาก super computer แล้ว ผู้พยากรณ์ยังต้องมาใช้ความสามารถในการแปลข้อมูล ความหมาย เปรียบเทียบกับหลายๆการคำนวณ จึงออกมาเป็นผลการพยากรณ์
  • ดังนั้นผลของการพยากรณ์ ถ้าจะให้แม่น ก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลดิบที่ส่งมาว่ารวดเร็ว ทันเหตุการณ์ขนาดไหน
  • นอกจากนี้ เรื่องของพื้นที่ยังมีส่วนทำให้การพยากรณ์ผิดพลาด เช่น พื้นที่แห้ง กับ พื้นที่หิมะตก อาจอยู่ห่างกันแค่เพียง 48 กิโลเมตรเท่านั้น ดังนั้น ด้วยระยะทางที่ใกล้กันมากๆ แต่มีความต่างขอสภาพอากาศ คนในพื้นที่ก็อาจมองว่าไม่แม่นได้ง่าย
  • หรือกระทั่งอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ก็อาจจะไม่แม่นยำได้ เทอร์โมมิเตอร์ บอลลูนตรวจอากาศ ฯลฯ หรือรวมถึงปัจจัยของคนด้วย
  • อย่างไรก็ดีสถานการณ์ของการพยากรณ์อากาศตอนนี้ก็ดีขึ้นมากๆแล้ว การพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 5 วันในสมัยนี้ มีความแม่นยำพอๆกับการพยากรณ์ล่วงหน้าแค่ 2 วันเมื่อ 30 ที่แล้ว คุณภาพของ super computer ก็ดีขึ้นเรื่อยๆทำให้ไม่ต้องเดาเยอะเหมือนแต่ก่อน และเดี๋ยวนี้นักพยากรณ์อากาศสามารถแบ่งพื้นที่โลก (ที่เป็นตารางๆ) สำหรับพยากรณ์ เหลือเพียง 13 ตร.กม. จากสมัยก่อนที่เป็นตาราง 338 ตร.กม. คือละเอียดขึ้นมาก
  • เป้าหมายของการพยากรณ์อากาศ คืออยากจะให้เกิดความแม่นยำและรวดเร็วเหมือนกับ Google Map ที่เราใช้ดูสภาพการจราจรแบบ real-time เลยทีเดียว

ถ้าแม่นยำขนาดนั้น…เราคงอดแซวกรมอุตุฯกันละ

เล่าสู่กันฟัง สุขสันต์อากาศหนาวครับ

อ้างอิง  The Economist

บาบีก้อน

bbq1

วันหยุดเรามาพักสมองกันครับ…

มารู้จักกันว่ารูปเรขาคณิตแต่ละเหลี่ยมเรียกว่าอะไรในภาษาอังกฤษ

สามเหลี่ยม = TRIANGLE
สี่เหลี่ยม     = QUADRILATERAL
ห้าเหลี่ยม   = PENTAGON
หกเหลี่ยม   = HEXAGON
เจ็ดเหลี่ยม  = HEPTAGON
แปดเหลี่ยม = OCTAGON
เก้าเหลี่ยม   = NONAGON
สิบเหลี่ยม   = DECAGON
……

นอกจากสามเหลี่ยมสี่เหลี่ยมแล้ว นอกนั้นก็มี -GON หมดเลย
โดยมีชื่อเรียกลงท้ายด้วย -GON ไปจนถึง 20 เหลี่ยม
หลังจากนั้นจะเป็นตัวเลขตามด้วย -GON เช่น 21-GON, 22-GON, …
ส่วนคำที่เรียกรูปทรงหลายเหลี่ยมใดๆทั้งหมดนี้ ก็เรียกว่า POLYGON ครับ
ส่วนบาบีก้อนไม่เกี่ยวนะ 555

ลองไปเล่นเองที่ https://www.mathsisfun.com/definitions/polygon.html

สุขสันต์วันสุดสัปดาห์ครับ