Review หนังสือ Managing Oneself : ปัญญางาน จัดการตน

Managing Oneself : ปัญญางาน จัดการตน

ผู้เขียน : Peter F. Drucker

ผู้แปล : คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

หนังสือโดยปรมาจารย์ด้านการบริหารจัดการ ว่าด้วยการจัดการตนเอง โดยเฉพาะเรื่องของการรู้จักตัวเอง การสร้างสรรค์ผลงาน เนื้อหากระชับ ตรงประเด็นตลอดความหนา 240 หน้า ใช้เวลาอ่านไม่นานนัก และนี่คือสิ่งที่ผมได้รับจากหนังสือเล่มนี้ สรุปออกมาเป็น 3 ส่วนครับ

Part l

เราจำเป็นต้องเรียนรู้จัดการตนเอง และรู้ว่าเราควรจะเปลี่ยนงานของเราอย่างไรและเมื่อใด

คนเราสร้างผลงานจากจุดแข็งเท่านั้น ไม่ใช่จากจุดอ่อน และไม่ใช่จากงานที่เราไร้ความสามารถ

การพัฒนาจาก “ไร้ความสามารถ” ไปยัง “กลางๆ” ใช้พลังงานมากกว่าจาก “เยี่ยม” ไปเป็น “ยอดเยี่ยม”

คำแนะนำคือ
1)ให้เราทุ่มพลังไปที่จุดแข็ง
2)ทุ่มเทพัฒนาจุดแข็ง
3)ลดอุปนิสัยความอหังการทางปัญญา

ตัวอย่างของความอหังการทางปัญญา เช่น คนฉลาดที่วางแผนได้ดีอาจจะต้องพบกับความล้มเหลวเพราะว่าไม่ใส่ใจที่จะเดินตามแผน ดังนั้นต้องลดอุปนิสัยความไม่ใส่ใจลงเพื่อให้ประสิทธิผลของสิ่งที่ทำดีขึ้น

ในขณะเดียวกันก็ใช้พลังงานให้น้อยที่สุดในการพัฒนางานในพื้นที่ที่เราไม่ถนัด

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือสิ่งที่ถนัดหรือไม่ถนัด

เครื่องมือ Feedback Analysis ช่วยเราได้ คือเมื่อต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญหรือทำงานใหญ่ ให้เขียนสิ่งที่คาดหวังไว้ว่าจะเกิดขึ้น (เช่นในอีก 9-12 เดือนข้างหน้า) แล้วจึงเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่คาด จะได้รู้ว่าทำได้ดีหรือตัดสินใจถูกหรือไม่

ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักตนเองด้วยว่าเราเรียนรู้ด้วยวิธีไหน

ฟัง อ่าน เขียน พูด หรือทำ

ทั้งนี้การไม่นำความรู้ไปปฏิบัติคือหนึ่งในปัจจัยของการไร้ผลงาน

Part ll

สิ่งที่ต้องสำรวจตัวเองอีกอย่างหนึ่งคือ เราทำงานอย่างไร?

เราทำงานกับคนได้ดี หรือจะดีกว่าถ้าทำคนเดียว? และถ้าทำงานกับคนได้ดี ดีในความสัมพันธ์แบบไหน

เราสร้างผลงานได้ดีในฐานะคนตัดสินใจ หรือที่ปรึกษา?

ข้อนี้เป็นที่มาว่าทำไมในองค์กรคนที่เป็นเบอร์2จึงทำได้ไม่ดีเมื่อต้องขึ้นเป็นเบอร์1 บางคนทำได้ดีในฐานะที่ปรึกษาแต่ไม่อาจแบกรับความรับปิดชอบได้เมื่อต้องตัดสินใจจริงๆ

เราทำงานได้ดีในสภาวะแรงกดดัน หรือต้องการทำงานในสภาพที่แน่นอนและพยากรณ์ได้?

อย่าพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่จงทำงานหนัก เพื่อพัฒนาวิธีการที่จะสร้างสรรค์ผลงาน

เราจะรู้ว่าที่ทางของเราอยู่ที่ไหน อาจขึ้นอยู่กับการพิจารณาปัจจัยต่างๆต่อไปนี้

อะไรคือจุดแข็งของเรา? เราทำงานด้วยวิธีการอย่างไร? เราให้ค่ากับสิ่งใด? จะช่วยให้คำตอบว่าที่ทางของเราอยู่ที่ไหนหรือตอบได้ว่าที่ไหนไม่ใช่ที่ทางของเรา

คำตอบของคำถามเหล่านี้ทำให้เราพูดได้เต็มปากต่อโอกาสที่เข้ามา ต่อข้อเสนอที่ได้รับมอบหมายว่า…

ตกลงจะทำหรือไม่ทำ

ความสำเร็จในการงานนั้นไม่ได้เกิดจากการวางแผน แต่เกิดขึ้นเมื่อคนเตรียมพร้อมเพื่อรับโอกาสใหม่ๆเพราะพวกเขารู้จุดแข็ง รู้วิธีการทำงาน และรู้คุณค่า

Part lll

ส่งท้ายด้วยเรื่องการทำงานกับผู้อื่น

Contribution คือสิ่งที่เราจะมอบให้กับงานงานหนึ่ง ให้พิจารณา 3 อย่าง

1)ณ สถานการณ์ตอนนี้ งานนี้ต้องการสิ่งใด
2)เราต้องทุ่มเทที่สุดวิธีไหนให้งานลุล่วง
3)อะไรคือเป้าหมายที่ต้องบรรลุเพื่อสร้างความแตกต่าง

ในขณะเดียวกันก็ทำความเข้าใจว่าเจ้านายเป็นอย่างไร เพื่อนร่วมงานเป็นอย่างไร มีวิธีการทำงานแบบไหน และดึงจุดแข็งออกมาให้ได้

นอกจากนี้ยังต้องสื่อสารว่าตัวเองทำอะไรอยู่ เก่งอะไร ทำงานด้วยวิธีไหน ให้ค่ากับอะไร

ก็จะช่วยให้งานสำเร็จและสัมฤทธิ์ผลได้

เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ในการทำงานและพัฒนาตนเองครับ

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s