ค่าขนม

boy-clipart-saving-money-18.jpg

สมัยตอนอยู่ ป.6 ผมได้ค่าขนมไปโรงเรียน 20 บาทครับ ผ่านมาแล้ว 17 ปี ตอนนี้ไปดูของหลานซึ่งอยู่ ป.6 เหมือนกัน คุณแม่ของเขาซึ่งเป็นพี่สาวผมให้ค่าขนมไปโรงเรียน 40 บาทครับ

แสดงว่าที่ผ่านมา 17 ปีนี่ค่าขนมเพิ่มขึ้นมา 20 บาทหรือคิดเป็น 200% หรือเพิ่มขึ้นปีละ 4.16% CAGR

+++++++++++++++++

CAGR หรือ Compound Anuual Growth Rate คำนวณมาเพื่อแสดงอัตราการเติบโตของราคาสินทรัพย์ใดๆเพื่อให้ทราบเป็นอัตราแบบ ต่องวด (ในทีนี้คือต่อปี) ช่วยให้แปลงภาพจากผลตอบแทนก้อนๆใหญ่ๆตลอดระยะเวลาที่ลงทุน มาเป็นอัตราเท่าๆกันทุกปี มีประโยชน์สำหรับใช้เปรียบเทียบการลงทุน มีวิธีการคำนวณดังนี้

[(มูลค่าปลายงวด/มูลค่าต้นงวด)^(1/จำนวนปี)]-1

*การยกกำลัง 1 หารด้วยจำนวนปีก็คือสแควร์รูทที่…จำนวนปี นั่นเอง

จากตัวอย่างค่าขนม มูลค่าปลายงวดคือ 40 มูลค่าต้นงวดคือ 20 จำนวนปีคือ 17 ปี

40/20=2, 1/17=0.0588 จะได้ 2^0.0588=1.0416 เอามาลบ 1 ได้ 1.0416-1 = 0.0416 = 4.16% คืออัตราการเติบโตของค่าขนมเท่ากับ 4.16% ตลอด 17 ปีที่ผ่านมา (อ้าว! มากกว่าเงินเฟ้อหรือเปล่าต้องลดลงเปล่าเนี้ย 555โหดกะเด็ก)

+++++++++++++++++

CAGR ช่วยให้การพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะเมื่อมีการลงทุนต่อเนื่องหลายปีหลายงวด ช่วยให้เกิดความ smooth มากขึ้นแม้ผลการลงทุนระหว่างทางจะมีความผันผวนเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงและมีพลิกขาดทุนในบางงวดก็ตาม

หลายคนลงทุน LTF ต้องถือกองทุนไป 7 ปี รู้สึกใจตุ๊มๆต่อมๆบางปีก็กำไรเป็นบวก บางปีก็ลงไปติดลบรู้สึกว่าลงทุนไปจะใช้ได้ไหมเนี่ย ผ่านมา 7 ปี จาก 50,000 ขึ้นมาเป็น 60,000 ก็รู้สึกว่าอะไร ได้แค่หมื่นเดียวเองตั้ง 7 ปี ปรากฏว่าไปคำนวณตามสูตรได้

[(60,000/50,000)^(1/7)]-1 = [1.2^0.1429]-1 = 2.64% ต่อปี ก็ทำให้เห็นภาพรวมของผลการลงทุนได้ อาจจะเอาไปเทียบกับกองทุนอื่น หรือเปรียบเทียบกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เราได้รับ เป็นต้น

หรือจะเอาไปใช้เปรียบเทียบในการที่เราถืออสังหาฯแล้วขาย หรือวัดประสิทธิภาพในการลงทุนของพอร์ตหุ้นก็ได้ครับ

Leave a comment